หมายเหตุ : นอกเหนือจากบทความนี้ ยังมีบทความเกี่ยวกับ efin trade plus – Auto trade มากมาย ที่ท่านสามารถ search google ได้จากหน่วยงานอื่น ๆ เช่น จาก youtube, เว็บไซด์ ของ efinance เอง หรือ จากเอกสารของ broker ต่าง ๆ ที่เกี่ยวของกับ Auto Trade บทความนี้เป็นบทความที่เขียนในไสตล์ของผม สุภาพงษ์ นิลเกษ ที่จะมีมุมมองอื่น ๆ ของผมเพิ่มเติมการเทรดแบบ auto trade อีกด้วย
มีผู้ที่เรียนกับ ABL จำนวนมาก
ที่มีงานประจำ ซึ่งไม่สามารถจ้องจอได้ทุกวินาที แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่อย่างใด
เพราะการเทรดหุ้นนั้น มีหลายกลยุทธ์ ซึ่งสามารถทำกำไรได้เยอะกว่าการจ้องจอ
เมื่อผู้เรียน
ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือต่าง ๆ ทาง Technical Analysis อย่างถ่องแท้แล้วก็สามารถใช้เครื่องมือทาง
Technical Analysis เป็นจุดเข้า (entry) และจุดออก (exit) ได้
สมัยก่อน สมมุติว่าจะเทรดหุ้น ส่วนมากจะเทรดราว 5
ตัวในพอร์ท
สมมุติว่าใช้เส้นค่าเฉลี่ย 75 วันในการเทรด ก็จะมีการวางแผน ว่าตัวนี้
เพิ่งเบรค sma75 day ก็เข้าซื้อ* ตัวนี้เพิ่งร่วงทะลุ sma75 day ก็ต้องขาย**
*, ** นี่คือการสมมุติในการเทรดเข้า-ออก ซึ่งจริง
ๆ ต้องดูสิ่งแวดล้อม ปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติม ก่อนใช้เส้น sma75ในการเทรด
ดังนั้น ใน 1 วัน
จะมีแผนการมากมาย ว่าใน watch list ที่มี สมมุติ 10 ตัว
จะมีตัวไหนบ้าง ที่เพิ่งตัดเส้น sma 75 day ขึ้นไป(เพื่อซื้อตัวนั้น), จะมีตัวไหนบ้างใน
port ที่ราคาร่วงหลุด sma75 day ลงมา(เพื่อขายตัวนั้น)
ดังนั้น สมมุติมีหุ้นในพอร์ท 3 ตัว
ที่เตรียมขายถ้าหลุดเส้น sma75 day และมีหุ้นใน watch list อีก 10
ตัว
ที่จะต้องซื้อเมื่อราคาเพิ่งอยู่เหนือเส้น sma75 day เป็นครั้งแรก
ช่วงนั้น ก็จะต้องมีการจับตาดูหุ้น (monitor) อยู่ถึง 13
ตัว
ซึ่งมันเป็นเรื่องยาก ที่จะโทรบอกเจ้าหน้าที่การตลาด ให้ดูหุ้น 13 ตัวนี้
เพราะมันเป็นคำสั่งที่ละเอียดเกินไป และลำพังเจ้าหน้าที่การตลาด
ก็มีงานเยอะอยู่แล้ว
ด้วยเหตุนี้ บริษัท Online Asset ผู้สร้างโปรแกรม
Efin Stock Pickup จึงสร้างอีกโปรแกรมหนึ่งขึ้นมา ชื่อ Efin Trade Plus หมวคำสั่งย่อย
“Auto Trade” เพื่อเอาไว้ส่งคำสั่งอัตโนมัติโดยเฉพาะ
เกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นตามสัญญาณทางเทคนิคต่าง ๆ ซึ่งคำสั่งใหม่ ๆ จะออกมาเรื่อย
ๆ
โอเค ทีนี้มาเข้าเรื่องกันเลย
ว่าต้องทราบอะไรบ้าง เกี่ยวกับ Efin trade plus หมวคำสั่งย่อย
“Auto Trade”
1.
แยกให้ออกก่อนว่า Efin Stock Pickup กับ Efin
Trade Plus คนละโปรแกรมกัน อันแรก ใช้ดูกราฟ อันหลัง ใช้ส่งคำสั่งซื้อแบบ Auto
Trade.
2.
ต่อให้หลายโบรคเกอร์ ให้ใช้ Efin trade
plus ฟรี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะสามารถใช้ “Auto Trade” ได้ ซึ่ง “Auto
Trade” มีราว 7-9 โบรกเกอร์เท่านั้น(พิมพ์เมื่อปลายเดือนเมษายน’61)
ที่เปิดให้ลูกค้าใช้ได้ฟรี ซึ่งสามารถเช็คข้อมูลอัปเดตเรื่อย ๆ ในเว็บของ Efin
เช่นใน
link https://www.efinancethai.com/efintools/mybroker.aspx ซึ่งจะบอกว่า มีโบรคเกอร์ไหน ให้บริการ โปรแกรม Efin trade plus บ้าง ส่วน link สำรองรายชื่อโบรคเกอร์ที่ให้บริการ คือ http://www.efinancethai.com/pbms/banner/autotrade8broker.pdf
และ link
http://helponline.efinancethai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1375:efin-trade&catid=144&Itemid=1193 ที่จะบอกว่า มีโบรคเกอร์ใดบ้าง ที่ให้บริการ Auto
Trade (แนะนำสอบถาม efin เพื่ออัปเดตข้อมูลส่วนนี้เรื่อย ๆ)
ภาพตัวอย่าง รายชื่อ broker ที่ให้ลูกค้าใช้ Auto Trade |
3.
การ download โปรแกรม
เหมือนกับกระบวนการ download efin stock pickup นั่นคือ
ท่านต้อง log in เข้าเว็บ broker ของท่านก่อน แล้วจึงค่อยเข้าไป download โปรแกรม efin
trade plus จากเว็บของโบรคเกอร์นั้น ท่านไม่สามารถเข้าไป download โดยตรงจากเว็บของ
efin ได้ เพราะ efin เขาไม่รู้ ว่าโบรคเกอร์ไหน จ่ายเงินซื้อ account
ให้ท่านใช้อยู่
4. โหลดโปรแกรม Efin Trade Plus มาแล้ว
ยังใช้ไม่ได้เลย ไม่ต้องตกใจ เพราะแต่ละ Broker จะให้ทำความเข้าใจโปรแกรม
Efin Trade Plus ก่อน บางโบรคเกอร์ อาจให้เซ็นเอกสารเพิ่ม บางโบรคเกอร์ อาจให้ดูคลิป
แล้วทำข้อสอบในเว็บของโบรคเกอร์นั้นนิดหน่อย
5. คำสั่งซื้อขายอัติโนมัติ ถ้าเป็นคำสั่งซื้อจะเป็นการส่งคำสั่งเคาะขวา
MP ที่แถว offer 3 แถวแรกเท่านั้น ได้หุ้นเท่าไหร่ ก็จะได้เท่านั้นตาม
Volume ที่เรากรอกไป คำสั่งขาย
ก็โยนซ้าย 3 แถวแรกของ bid
พอทราบเรื่องคร่าว ๆ เกี่ยวกับโปรแกรม Efin Trade Plus แล้ว
ลองมาดูกันว่า ถ้าสามารถใช้ฟังก์ชั่น “Auto Trade” ในโปรแกรม Efin
Trade Plus ว่าจะมีอะไรให้ใช้คร่าว ๆ บ้าง
คร่าว ๆ มีอยู่ 7 หมวด(Type)
ซึ่งมีความเจ๋งแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
หมวดที่ 1 |
หมวดที่ 1 (Type1) ตั้งได้ว่าจะให้ราคาเป็นดังต่อไปนี้
จึงจะส่งคำสั่ง ซื้อ ขาย อัตโนมัติ ในมิติต่าง ๆ
ดังนี้
-
ราคา มากกว่า น้อยกว่า กี่บาท จึงให้ขาย ให้ซื้อ
อัตโนมัติ
-
ราคา มากกว่า น้อยกว่า เส้น sma (day)
period เท่าใด จึงให้ขาย ให้ซื้อ อัตโนมัติ
-
ราคา มากกว่า น้อยกว่า เส้น HHV, LLV
(day) period เท่าใด จึงให้ขาย ให้ซื้อ อัตโนมัติ
(ถ้าไม่เข้าใจเรื่อง HHV, LLV ให้ค้นพบในเรื่อง
Donchian Channel ในเว็บต่าง ๆ หรือในหนังสือ วิ่งไปให้สุดเทรนด์ ก็ได้)
-
อันสุดท้าย discount high คือ “กำหนดให้ค่า period
ของ
HHV คือ ค่า x และ Slippage คือ ค่า y” พูดง่าย ๆ คือ
สมมุติหุ้นตัวนี้ ค่า HHV(10) อยู่ที่ 100 บาท
ถ้าราคาร่วงลงมาต่ำกว่า 98 บาท (กำหนดใด้ Slippage y = 2%) ก็ให้ขาย
นั่นคือ เรากำหนดว่า หุ้นตัวนี้ ร่วงจากยอด HHV เยอะเกินกี่ %
ก็ให้ขาย
ดังนั้น จะใช้ฟังก์ชั่น discount high, Rebound Low ต้องเข้าใจเครื่องมือ
Donchian Channel, HHV , LLV ให้เข้าใจก่อน
หมวดที่ 2 |
หมวดที่ 2 (Type2) “ออกตามจุด Exit
รูปแบบต่าง ๆ ตามคำสั่งของเรา”
เป็นเรื่องเกี่ยวกับ คำสั่งขายในลักษณะต่าง ๆ
เพราะเมื่อซื้อหุ้นแล้ว ราคามันก็เหมือนยานอวกาศลำหนึ่งที่ล่องลอยไปในอวกาศ
เราก็จะกำหนดให้ยานลำนี้ว่า ถ้ามันล่องลอยไปทางขึ้น ให้ทำยังไง ถ้าร่วงลงมา
ให้ทำยังไง ดังนั้น เราสามารถกำหนดได้หลาย ๆ กรณี ซึ่งหากเกิดกรณีไหนก่อน auto
trade ก็จะส่งคำสั่งนั้นให้เราเลย (ให้คลิกที่ group cancle ทุกครั้ง
เพื่อที่จะลบคำสั่งอื่น ๆ หากเกิดคำสั่งขายคำสั่งแรกกับหุ้นตัวนี้แล้ว)
หมวดที่ 3 |
หมวดที่ 3 (Type3) “ซื้อ ขาย
ก่อนตลาดปิด 15 นาที”
-
เราสามารถตั้งได้ ว่าถ้าก่อนตลาดปิด 15 นาที
ราคาอยู่ในช่วงนี้ ก็ให้ส่งคำสั่งซื้อขาย
-
คนที่เข้าใช้โหมดนี้ จะเป็นคนที่เทรดสาย break
out หรือ
สายแท่งเทียน คือให้ราคามันเบรคราคานั้นจริง ๆ ก่อน (ให้แท่งเทียนไม่เปลี่ยนแปลง
จะเขียว ก็เขียวจริง ๆ ไม่ต้องมีไส้เทียนชี้ฟ้า) แนว ๆ นี้
หรือไม่ก็ใช้กราฟ day เทรดก่อน 16:30 หรือใช้กราฟ week แล้วเทรดตอนวันศุกร์ก่อน
16:30 เพื่อให้มั่นใจว่า แท่งเทียนที่เห็นนั้น เป็นรูปแบบของการ break
ราคาขึ้นมาจริ
ง ๆ
Auto Trade แบบ Market Classification |
หมวดที่ 4(Type4) “Market Classification” (จะเอาเรือออกจากฝั่ง
ดูพายุด้วย)
-
ในสาย quantitative analysis จะมีแนวคิดชื่อ
Market Classification อยู่ คือหากจะลดการขาดทุนในระบบ จะต้องโฟกัสที่ดัชนีด้วย เช่น
จะไม่เทรด(ซื้อ)เมื่อ ดัชนี้ SET มี macd ต่ำกว่า 0 หรือ
จะทะยอยขายหุ้น ถ้าดัชนี SET มี macd ต่ำกว่า 0 เป็นต้น
-
แนวคิด Market Classification นี้
ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติม จากวิดีโอ thaiquants ของท่านอาจารย์
ดร. ชาคริส ได้ที่ https://vimeopro.com/thaiquants/amibroker/video/138056552
Auto Trade แบบมี Money Management |
หมวดที่ 5 (Type5) “Money Management” (แพ้ต้องคำเล็ก
ๆ ชนะต้องคำใหญ่ ๆ)
-
แนวคิด Money Management คือ
การจัดสรรเงินลงทุนให้เหมาะกับความเสี่ยงที่รับได้ ซึ่งค่ามาตรฐานจะอยู่ที่ 2%
นั่นคือ
ขาดทุนจากหุ้น 1 ตัว ไม่ควรทำให้พอร์ท “ทั้งหมด” เจ็บเกิน -2%
-
เราก็กรอก % give up เข้าไป
ทางโปรแกรมก็จะคำนวณมาให้ ว่าต้องซื้อกี่หุ้น และจะคำนวณว่าถ้าเฉพาะหุ้นตัวนี้ขาดทุนกี่
% ก็จะทำการขายให้ โดยเงินไขสำคัญคือ
จะไม่ทำให้พอร์ท “ทั้งหมด” เจ็บเกิน -2% จากการขาดทุนหุ้นตัวนี้
-
ถ้าใส่ % give up = 1 ทางโปรแกรมก็จะคำนวณต่างออกไป ซื้อหุ้นก็จะได้น้อยกว่า ที่เราเซ็ตไว้ว่า 2%
Auto Trade แบบ DCA |
หมวดที่ 6 (Type6) “Dollar Cost Average”
-
แนวคิดนี้ก็มีตามหนังสือ
เขียนตามเว็บกันทั่วบ้านทั่วเมือง ว่าให้ซื้อหุ้น เดือนละกี่บาท ก็ว่ากันไป
ซื้อหุ้นตัวนั้นไปเรื่อย ๆ
-
จะใช้แนวคิดนี้ ก็ต้องเข้าใจ
ว่าอย่าไปถัวซื้อหุ้นขาลง ก็ลองใช้เครื่องมือ Moving Average มาเช็คหุ้นตัวนั้นก็ได้
ว่าตอนนี้อยู่ขาขึ้น หรือขาลง
-
ความเจ็บปวดของการถัวซื้อหุ้นขาลงคือ
เงินจะหายไปเรื่อย ๆ จนมี quote ของ Paul Tudor Jones ว่า “Losers
Average Losers” นั่นคือ “พวกที่ขาดทุน จะถัวซื้อหุ้นที่ขาดทุน(ราคาลง)ไปเรื่อย ๆ”
Auto trade แบบทะยอยซื้อหุ้นเมื่อราคาอ่อนตัว อย่างมีหลักการ |
หมวดที่ 7 (Type7) “Pricing Zone” (ทะยอยซื้อหุ้นเมื่อราคาย่อตัว)
-
เป็นกลยุทธ์ที่ต้องเทรดเป็นระดับหนึ่ง จึงจะใช้ Pricing
Zone ได้ นั่นเพราะ ต้องจับจังหวะหุ้นให้ดี ว่าที่หุ้นร่วงที่เห็นอยุ่นี้
มันร่วงในระยะสั้น แต่ในระยะยาว หุ้นยังขึ้นอยู่
-
ดังนั้น การร่วงระยะสั้นนี้
ก็จะแบ่งไม้ซื้อไปเรื่อย ๆ เพื่อที่หวังว่า พอซื้อครบทุกไม้แล้ว มันจะงัดขึ้น
-
ความรู้นี้ หากต้องการทราบเพิ่มเติม จะอยู่ในบท “Multi
Timeframe Analysis” ในหนังสือ วิ่งไปให้สุดเทรนด์
-
หมวดนี้ก็จะให้กรอกว่า เงินตั้งต้น กี่บาท
จะซอยซื้อหุ้น กี่ไม้ ไม้ละกี่บาท และ จะซื้อไม้ที่ 2 3 4 5 … ทุก ๆ
ครั้งที่ราคาหุ้น ร่วงไปกี่ % จากราคาก่อนหน้า
Auto trade เป็นเหมือนดาบสองคม
ถ้าใช้เป็น และเข้าใจหลัก Technical Analysis, Quantitative Analysis ก็จะเป็นตัวช่วยอย่างดี
ที่ทำให้เราไม่ต้องเฝ้าหน้าจอ และทำให้มีเวลาไปสร้างรายได้จากช่องทางอาชีพอื่น ๆ
ให้กับตัวเรา แต่ถ้ายังไม่เข้าใจ Technical Analysis, Quantitative
Analysis อย่างถ่องแท้ แล้วไปใช้ Auto Trade มันก็จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้พอร์ทเราเจ๊งได้เช่นเดียวกัน
เพราะทุกครั้งที่ส่งคำสั่ง มันก็คงไม่ต่างจากการโยนเหรียญ การพนัน
ดังนั้น จึงขอแนะนำหนังสือเพิ่มเติม
ที่มีเนื้อหาที่สามารถนำมาประยุกต์กับ Auto Trade ได้ซัก 8
เล่ม
ซึ่งแต่ละเล่มก็จะมีจุดเด่นต่างกัน ดังต่อไปนี้
1.
38 กลยุทธ์ คว้ากําไรในตลาดหุ้น แต่งโดย น.พ. อนันต์ ข้อมงคลอุดม – บอกถึงเครื่องมือต่าง
ๆ ว่าถ้าซื้อขาย ซื้อขายตามระบบ ใช้กับหุ้นไทยจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าปรับแต่งค่า period หรือค่าอื่น
ๆ ในเครื่องมือนั้น จะได้ผลลัพธ์อย่างไร
2.
Think
ALGO เทรดหุ้นยุคใหม่ ให้โรบอททำเงินแทน แต่งโดย ผศ.ดร. ศุภวัฒน์ สุภัควงศ์ – ดูว่าโรบอท
ทำงานอย่างไร มีแนวคิดอย่างไร เราจะตั้งคำสั่งใน Auto Trade เรา ให้ล้อไปกับ robot ที่
broker, หน่วยงานต่าง
ๆ ใช้ได้อย่างไร
3.
แมงเม่าคลับ แบ่งปันความรู้การเล่นหุ้น
“อย่างเป็นระบบ” แต่งโดย
คุณมด แม่งเม่าคลับ– การใช้งาน
HHV , Money Management
4.
Robotation แต่งโดย คุณ สาริศ ลีละเกษมฤกษ์ (Kong_JumpQuant)
– การพัฒนาระบบเทรด
เขามี logic ในการคิดอย่างไร ต้องดูแง่มุมไหนบ้าง
5.
โต้คลื่นหุ้น รู้ทันเทคนิค แต่งโดย อาจารย์ประกาศิต ทิตาราม Wave
Riders – สำหรับผู้ที่จะใช้
Auto Trade ให้ซื้อขายผ่านเส้น Moving Average ต่าง ๆ
ในเล่มจะมีเรื่อง MACD ก็เอามาประยุกต์ใช้ได้ ในการเทรด period สั้น ๆ ใน Auto Trade
6.
กำไร Auto ด้วย Auto trade
แต่งโดย
คุณ วชิรเมษฐ์ ธเนศสถิตพงศ์ – นักพัฒนาโปรแกรม
Autotrade ลงมือเขียนเอง ยังไงก็ต้องซื้ออ่าน เพราะมีแง่มุมที่สำคัญต่าง ๆ
มากมายเกี่ยวกับโปรแกรมนี้
7. หุ้นพลิกชีวิต สนพ. ซีเอ็ด- สุภาพงษ์ นิลเกษ
8. วิ่งไปให้สุดเทรนด์ สนพ. ซีเอ็ด - สุภาพงษ์ นิลเกษ
ทีนี้ ถ้าจะไปให้สุด ไปให้ไกลกว่านี้
ต้องไปทางไหนต่อ ก็จะเป็นเรื่องของ quantitative analysis แล้ว
ซึ่งจะเป็นเรื่องของ thaiquants.com ของ ดร.ชาคริส ที่มีคลาสออนไลน์ให้เรียน
ซึ่งจะต้องตอบให้ได้ว่า ระบบเทรดที่คิด มีค่าต่าง ๆ ใน evaluation chart เป็นอย่างไร
กำไรสม่ำเสมอจริง ๆ หรือไม่? เกิดการขาดทุนหนัก ๆ ในบางปีหรือไม่? จะทำให้ระบบเสถียรต้องทำอย่างไร?
ซึ่งต้องอาศัยความรู้ในโปรแกรม
amibroker ในการเรียนคลาสนี้ แต่ของแบบนี้ ฝึกกันได้ และ thaiquants ก็สอนเรื่อง amibroker
ด้วยอยู่แล้ว
thaiquants.com |
มีคลาสออนไลน์ที่สำคัญต่าง ๆ มากมาย ทั้ง
ABQC : Amibroker Quant
Course,
TSDC : Trading System Development Course
ABXC : Amibroker Xtreme
Course และ
7Ms : Component of Trading System อีกด้วย
ซึ่งในเว็บ thaiquants ก็มีวิดีโอ ฟรี ๆ ดี ๆ อีกเยอะ
อ่านจบถึงบรรทัดนี้ ถือว่าเก่งมาก ผมขออวยพร ให้ทุกท่านที่อ่านบรรทัดนี้
ใช้ Auto Trade ใน efin trade plus เลือกซื้อหุ้น ได้อย่างถูกตัว ถูกเวลา
มีระบบเทรดที่กำไรได้อย่างสม่ำเสมอครับ
///////
ตัวอย่างการส่งคำสั่ง (Efin Trade Plus ในสมาร์ทโฟน)
สมมุติ หุ้นตัวหนึ่ง มีแนวต้านที่ 1.10 บาท
แล้วเราอยากซื้อ เมื่อทะลุแนวต้านนี้
การตั้งคำสั่งใน Efin Trade Plus ในสมาร์ทโฟน คือ
buy Last Price > 1.10 และ buy price @ 1.11 ดังนั้น ถ้ามีราคา 1.11 เกิดขึ้น โปรแกรมก็จะซื้อให้เราทันที
แต่ก็มีเงื่อนไขไม่คาดคิดอื่น ๆที่จะไม่ทำให้โปรแกรมซื้อให้ เช่น ราคา 1.11 ถูกเปิดกระโดดข้ามขึ้นไป เป็นต้น และ เงื่อนไขอื่น ๆ ที่ไม่ทำให้ราคานี้ถูกซื้อ เข้าดูได้ที่
User_Manual_efin_Trade_Plus_PC.pdf
User_Manual_efin_Trade_Plus_PC.pdf
//////
ผู้เขียนบทความนี้
สุภาพงษ์ นิลเกษ- เจ้าของสถาบัน ABL สอนเทรดหุ้น มือใหม่ มือโปร
- นักเขียน Best Seller หนังสือ "หุ้นพลิกชีวิต" สนพ. ซีเอ็ด
- นักเขียน Best Seller หนังสือ "วิ่งไปให้สุดเทรนด์" สนพ. ซีเอ็ด
ท่านสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ด้านการพัฒนาตนเอง, การเป็นเทรดเดอร์ที่ดี
ของ blog นี้ได้ที่ http://supapongnilket.blogspot.com/2017/11/blog-post.html
ละเอียดดีสุดๆ ชอบตรงแนะนำหนังสือเพิ่มเติมด้วย ง่ายที่จะไปต่อยอดศึกษาต่อได้ ขอบคุณค่ะ
ตอบลบขอบคุณครับอาจารย์ ถือว่าเป็นประโยชน์มากเลยครับ ขอถามว่าถ้าจะเปิดบัญชีควรเลือกโปรกเกอร์ไหนดีครับ เพราะโปรกเกอร์ของผมไม่มีโปรแกรม Efin Trade Plus ให้ ขอบคุณครับ
ตอบลบแนะนำเลือกตามสะดวกใน link นี้ครับ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หรือถ้ามีเพื่อนทำ broker ใด ที่มี efin trade plus - auto trade ก็สมัครกับเขาได้ครับ ถ้ามีรายชื่อตลาดหลักทรัพย์รับรอง ก็ไว้ใจได้ครับ บางโบรคก็เหมา efin มาให้เราใช้ รบกวนดูใน link นี้ได้ครับ http://helponline.efinancethai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1375:efin-trade&catid=144&Itemid=1193
ตอบลบอัปเดตรายชื่อโบรคเกอร์ที่มี auto trade ให้ลูกค้า คือ link นี้ครับ https://www.efinancethai.com/efintools/mybroker.aspx แต่ถ้าชัวร์สุด แนะนำให้โทรถามมาร์เก็ตติ้งดู จะได้ข้อมูลอัปเดตสุดครับ // Supapong ผู้เขียนบทความ
ตอบลบ