สอนเทรดหุ้น เชียงใหม่ ออนไลน์ สอนเล่นหุ้น เชียงใหม่ ออนไลน์

วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ฝึกจิต ฝึกวินัย เข้าใจตนเอง ด้วย chartgame

สร้าง mindset trader

ฝึกจิต ฝึกวินัย เข้าใจตนเอง ด้วย chartgame




ผมให้นักเรียนของ ABL ฝึกจิต ฝึกวินัย เข้าใจตนเอง ด้วย chartgame

เพราะประโยชน์คือ ทำให้เข้าใจเรื่อง technical analysis ได้เร็วขึ้น ด้วยการลงมือทำ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่มีนอกเหนือจากทฤษฏีในหนังสือ

เมื่อก่อน ยังไม่ได้แนะนำเท่าไหร่ เพราะยังไม่แพร่หลาย และใช้ได้เฉพาะกับ pc, notebook เท่านั้น เพราะต้องอาศัยโปรแกรม flash ส่วนใครจะใช้ใน ipad ก็ต้องมาลง app flash เสียเงินเพิ่มอีก ซึ่งวุ่นวายมาก

แต่ตอนนี้ chartgame สามารถใช้ได้ใน smart phone, tablet ต่าง ๆ ได้แล้ว :)

เลยเป็นเรื่องดีที่จะบอกกล่าว และ ขยายความเรื่องการใช้งานเว็บฟรีดี ๆ แห่งนี้ในเรื่องการเทรดในสถานการณ์จำลอง ซึ่งสำคัญมาก เพราะ

- ทำให้แพ้เป็น ชินต่อการพ่ายแพ้ เพราะไม่มี holy grail ในตลาดหุ้น หลายระบบ แพ้ ชนะ ไม่ต่างจากการโยนเหรียญ

- ทำให้หัด cut loss เป็น หากเทรดผิดทาง

- ทำให้อดทน run trend เป็น หากเกิด trend ขึ้นมา

- ทำให้หาจุด exit ต่าง ๆ เป็น

ดังนั้น simulation game จึงจำเป็นมาก ๆ สำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ เพราะ การใช้เพียงเวลาเทรดที่ตลาดเปิดจริงนั้น ไม่เพียงพอแน่นอน แต่ถ้าใช้ simulation game ก็จะช่วยเพิ่มประสบการณ์การเทรดหุ้นได้เยอะขึ้น

วิธีเข้า simulation game นี้โดยละเอียด ขออธิบายด้วยภาพ ส่วนเกร็ดอื่น ๆ , คำอธิบาย จะอยู่ใต้ภาพ

1. เข้า www.chartgame.com แล้วจะเจอภาพนี้



ให้กดปุ่ม Play Now
====

2. พอกด Play Now แล้ว จะมีให้เลือกเข้าโปรแกรม ผ่าน Social Network ที่เรามี

ใครจะใช้ facebook, Linkedin, หรือ google plus ในการล๊อคอิน ก็สุดแล้วแต่
=====

3. จากนั้น จะถามว่าจะเล่น simulation โหมดไหน


ซึ่งโหมดจะมีให้เลือก 2 โหมด
1. DayTrader Simulation คือ เหวี่ยงมาก
2. SwingTrader Simulation คือ แบบ Momentum ยังพอมีบางจังหวะให้ run trend อยู่บ้าง
=====

4. แล้วกราฟหุ้นจะขึ้นมาแบบนี้


ปุ่ม Next Bar คือ กด 1 ครั้ง แท่งเทียนจะผ่านไป 1 แท่ง
ปุ่ม Buy คือ เปิด Long หรือ ซื้อหุ้น (ภาวนาให้ขึ้น แล้วจะได้เงินหลังจากหุ้นขึ้นจริง)
ปุ่ม Short คือ เปิด Short (ภาวนาให้ลง แล้วจะได้เงินหลังจากหุ้นลงจริง) 
*หุ้นอเมริกา แทงขึ้น-ลง ได้เกือบทุกตัว แต่หุ้นไทย ได้แต่ซื้อแล้วภาวนาให้ขึ้นอย่างเดียว กรณีตลาดปกติที่ไม่ใช่ tfex
========

5. เวลาจะใส่เครื่องมือทาง Technical Analysis ให้กดปุ่ม Indicators

ปุ่ม Indicators จะอยู่ข้างปุ่ม Traders พอกดปุ่ม Indicators แล้ว จะมีเครื่องมือเบื้องต้นทาง Technical Analysis ให้ใช้ในการเทรด มือใหม่ เอาเท่านี้ก่อน โปรแกรมฟรี จะมีเท่านี้ ถ้าต้องการเครื่องมือเยอะกว่านี้ จะต้องเป็นโปรแกรมเสียเงินอื่น ๆ

เครื่องมือที่มีให้หัดใช้ ได้แก่ sma, ema, Bollinger Bands, RSI, MACD, ART, CCI, Fast stochastics
=======

6. ต้องการใช้เครื่องมือใดที่เว็บนี้มี ก็กดเช็คถูกเข้าไปที่หน้าเครื่องมือนั้น

ตัวอย่างการเลือกใช้ MACD



















ตัวอย่างจากภาพ เป็นการเลือกใช้เครื่องมือ MACD ซึ่งจะใช้สุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้ ต้องใช้คู่กับ filter อีกตัวหนึ่ง ซึ่งคลิป self study การใช้ MACD ผมได้ Live ใน facebook ในหัวข้อ
"MACD Improving result" แล้ว สามาถเข้าได้ที่
https://www.facebook.com/efinanceThaiTV/videos/1650577211631901/?fref=mentions

ส่วนเครื่องมืออื่น ๆ ก็ต้องศึกษากันเชิงลึกในการใช้งานต่อไป

เพิ่มเติม : หนังสืออีกเล่มหนึ่งที่แนะนำ ที่เขียนเรื่อง MACD โดยละเอียด ได้แก่หนังสือของอาจารย์ปุย wave raider ชื่อ Wave Riders โต้คลื่นหุ้น รู้ทันเทคนิค
======

7. สมมุติเราเจอจุดซื้อแล้ว ก็กด "Buy"


จุดที่เรากด Buy จะขึ้นตัว L ในวงกลม ก็ถือว่าเป็นตำแหน่งราคาทุนของเราในการซื้อครั้งนั้น สังเกตุได้ว่า ในภาพ ปุ่ม Short จะหายไป แต่เปลี่ยนเป็นปุ่ม Sell แทน นั่นเพราะ ถ้าเราจะปิดสถานะการซื้อครั้งนี้ ก็จะต้องขาย โดยการกดปุ่ม Sell ซึ่งเขามีรอให้กดแล้ว
======

8. ถึงจังหวะขาย ก็กดปุ่ม Sell





















พอถึงจังหวะขาย ก็กดปุ่ม Sell ก็จะมีเรื่องหมาย X ในวงกลมสีเขียวขึ้นมา แสดงว่า เราขายหุ้นตัวนั้นไปแล้ว จะได้กำไร จะขาดทุน อีกเรื่องหนึ่ง แต่ถือว่าได้ขายไปแล้ว
=====

หวังว่าบทความนี้ จะช่วยให้ท่าน ใช้เวลาวันหยุดยาวให้คุ้มค่า ในการฝึกจิตตนเองในการเป็นเทรดเดอร์ต่อไป

ผู้เขียนบทความ : สุภาพงษ์ นิลเกษ
- เจ้าของสถาบัน ABL สอนเทรดหุ้น มือใหม่ มือโปร
- นักเขียน Best Seller หนังสือ "หุ้นพลิกชีวิต" สนพ. ซีเอ็ด
- นักเขียน Best Seller หนังสือ "วิ่งไปให้สุดเทรนด์" สนพ. ซีเอ็ด
=======
ท่านสามารถติดตามบทความอื่น ๆ ด้านการพัฒนาตนเอง, การเป็นเทรดเดอร์ที่ดี ของ blog นี้ได้ที่
http://supapongnilket.blogspot.com/2017/11/blog-post.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น